Welcome to my blog

Assignment 6

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1
1. จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและสารสนเทศ
            เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆโดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการในการนำความรู้สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับการตีความ จำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่หรือประมวลผล

2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึง

                เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไร้สาย

3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
                เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจากการรวมกันของเทคโนโลยีสองด้านคือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
                มนุษย์มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาภาษาพูด หรือการติดต่อโดยการใช้รหัสอื่นๆ เช่น มือ หรือท่าทางต่างๆ  คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ จนกระทั่งการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์และตัวอักษร นอกจากการพัฒนาการสื่อสารดังกล่าวแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากขึ้น การโยกย้ายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารทางไกล ด้วยความสามารถในการบันทึกข้อความหรือข่าวสารลงในกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้มนุษย์พัฒนาระบบไปรษณีย์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบริการในการติดต่อสื่อสารข่าวสารข้อมูลทางไกล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งข่าวสารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

5. ระบบปัญญาประดิษฐ์ Artificial  Intelligence : AI หมายถึงอะไรและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
                เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้สามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามลักษณะของโปรแกรม
ระบบปัญญาประดิษฐ์มี 4 ลักษณะได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล คือหุ่นจำลองร่างกายทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความรวดเร็วหรือเสียงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรมหรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด
2. ระบบปะมวลภาษาพูดคือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพุดได้
3. ระบบการจำเสียงพูด คือ ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์และสามารถจดจำคำพูดมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหาอาศัยฐานข้อมูล


6. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ    1.ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
2.ช่วยให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
3.รับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
4.ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
5.สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู้สังคมโลกได้โดยง่าย
6.กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้

7. สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ    1.ด้านเนื้อหา Content-  มีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy)
2.ด้านประสิทธิภาพ Efficiency-  ทันต่อเวลา (timeliness)-ประหยัด  (Economy)
3.ด้านรูปแบบ Format- ความยืดหยุ่น (Flexibility)  -Presentation
4.ด้านกระบวนการ (Process)  -   การมีส่วนร่วม Participation

8. จงยกตัวอย่างสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอบ    1.หนังสือพิมพ์
2.วิทยุกระจายเสียง
3.วิทยุโทรทัศน์

4.โทรสาร
9. จงอธิบายกระแสโลกภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ    กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามรถทำได้ง่ายมากขึ้นมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน  วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ส่งผลให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัย

10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช่และสังคม
ตอบ
ประโยชน์
1.ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและก้วางไกล
2.ช่วยให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้า
3.การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
โทษ
1. ความ ผิดพลาดในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ

3.การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์

คำถามท้ายบทที่ 2

1. คำว่า ระบบและวิธีการเชิงระบบ หมายถึง
ตอบ >> ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ที่มาhttp://classroom.hu.ac.th/courseware/SA/chapter2/ch2_1.html

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ >>1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )  หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่าง ๆ เช่น  ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น
      2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดกระทำ เพื่อให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  เช่น การสอนของครู การให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
      3. ผลผลิตหรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลงานของนักเรียน เป็นต้น
ที่มา http://www.st.ac.th/av/inno_system.htm

3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ >> ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/itsystem.htm

4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
ตอบ >> องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่
         1.Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล
ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข
         2.Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถ
สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ
และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์
         3.User หมายถึง กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
         4.Data  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสาน
กัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้
         5.Procedure หมายถึง  ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
ในระบบสารสนเทศ
         เมื่อทั้่ง 5 ส่วนดังกล่าวข้างต้น ทำงานประสานกัน ส่งผลให้ข้อมูลเกิดการ
ประมวลผลและนำไปใช้ประโยชน์ นั่นก็คือ สารสนเทศนั่นเอง
         ซึ่งสารเสนทศนี้จะเป็นสารสนเทศที่ดี จะต้องเป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้อง
ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และทันเวลาในการใช้งาน
         กล่าวโดยสรุปก็คือ กระบวนการสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิด
สารเสนเทศขึ้นมานั่นเอง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน นั่นคือ
Hardware  Software  User  Procedure และ Data

ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/itsystem.htm

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ >>  สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมายมี 4 ประการ ได้แก่
-ข้อมูล (Data)
-สารสนเทศ(Information)
-ความรู้(Knowledge) ปัญญา(Wisdom)
      ด้านขั้นตอนมี 3 ประการ คือ
-ข้อมูลนำเข้า(Input)
-กระบวนการ(Process)
-ผลลัพธ์(Output)
        สารสนเทศทั่วไป มี  5 ประการ
1.ฮาร์ดแวร์
2.ซอฟต์แวร์
3.ข้อมูล
4.บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
6. โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ >> การเก็บรวบรวมข้อมูล
        สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล
การตรวจสอบข้อมูล
         เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
       การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
การจักเรียงข้อมูล
    ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
การคำนาณ
          ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
การทำรายงาน
     การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
การจักเก็บ
       ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
การทำสำเนา
        หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
      เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__9.html


7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่มกับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ >> ระบบสารสนเทศระดับบุคคล   เป็นระบบที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมาขึ้น เช่น โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรือโปรแกรมบัญชี

        ระบบสารสนเทศระดับองค์กร    เปรียบเสมือนการเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสานสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลายๆ แผนก เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีการจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร
ที่มา http://group-4-405.blogspot.com/2012/04/blog-post_9180.html

8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร มีความสำคัญต่อสารสนเทศอย่างไร
ตอบ >> data = ข้อมูล
       ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร
         Knowledge = ความรู้
       ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน
        ความรู้สำคัญ
       การจะจัดการกับสารสนเทศที่มีขององค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องอาศัยองค์ความรู้ (knowledge)เข้ามาจัดการ ดังนั้น ความรู้ จึงจะต้องหามา แล้วจะหามา จากไหน หลายหน่วยงานใช้วิธีการจ้างบุคคลภายนอกมาให้ความรู้ นานเข้านานเข้าไม่มีงบประมาณก็เลิกจ้าง การพัฒนาก็ไม่ต่อเนื่อง สิ่งที่องค์กรต่างๆ ไม่เคยทำ หรือให้ความสำคัญน้อยก็คือ ความรู้ที่มีอยู่ในบุคลากร ภายในองค์กร ไม่ค่อยได้ถูกนำออกมาใช้ เริ่มจาก เรื่องบางอย่างคนในองค์กร น่าจะพัฒนา หรือเป็นวิทยากรเองได้ แต่กลับไม่ใช้งานคนในองค์กร กำลังใจในการพัฒนางานก็ไม่มี นี่หละคือ เรื่องของสมองไหล ที่เคยฮิตกัน
ที่มา http://www.vcharkarn.com/vblog/50858

9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ >> 1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม เพื่อ เตรียมไว้สำหรับการใช้งาน
        2.การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อเรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา
     3.การสรุปผล บ่งครั้งข้อมูลที่จัดเก็บก็มีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือการสร้างรายงานย่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปอาจสื่อความหมายได้กว่า
     4.การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วยการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลการดำเนินการและการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งานสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับการใช้งานด้านต่าง ๆ นักเรียนอาจรวบรวมรายชื่อเพื่อน และเก็บข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเพื่อนของนักเรียนแล้วนำมาสรุปตามที่ต้องการ การจัดการสารสนเทศจึงรวมถึงขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง สารสนเทศมีหลายขั้นตอน ดังนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลสมมตินักเรียนต้องการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนไทยในหมู่บ้าน นักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับการไปสำรวจข้อมูล เพื่อให้ครอบครัวต่างๆ ในหมู่บ้านกรอกข้อมูล มีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียดมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่าง เช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจกราดระหัสแท่ง หรืออ่านข้อมูลที่ใช้ดินสอดำฝนตำแหน่งที่กรอกข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลดูแลเรื่องความถูกต้องของข้อมูล มีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
การรวบรวมข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล การรวบรวมข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นแฟ้มข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งการไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าเรื่องอะไร ส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
     การจัดเรียงข้อมูล ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูลเพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง การคำนวณ ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลขดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณตัวเลขที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม การทำรายงาน การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งานจะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นเพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ การจัดเก็บ ข้อมูลที่สำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศจะต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลังการจัดเก็บ สมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึก การทำสำเนา หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
      การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสาร สมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถมากขึ้นมีขนาดเล็กลง และราคาถูกลงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็วตลอดจนระบบสื่อสารก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้ระบบข้อมูลขององค์การที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแนวทางการดำเนินการให้ได้ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการจะเริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการ การวิเคราะห์นี้จะได้จาการสอบถามความต้องการซึ่งจะทำให้ทราบว่าควรจะจัดโครงสร้างข้อมูลนั้นไว้ในระบบหรือไม่ ถ้าจัดเก็บจะประกอบด้วยข้อมูลอะไร มีรายละเอียดอะไร ตอบสนองการใช้งานได้อย่างไรคำถามที่ใช้ในการสำรวจอาจประกอบด้วย
1. ข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้อยู่ขณะนี้ เช่น แบบฟอร์ม รายงานหรือเอกสาร ฯลฯ ดูโครงสร้างเอกสาร หรือข่าวสารตลอดจนการไหลเวียนของเอกสาร
2. ข้อมูลอะไรที่จะจัดทำขึ้นได้ในขณะนี้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือสามารถจัดเก็บได้
3. ข้อมูลอะไรที่ควรจะมีใช้เพิ่ม เพื่อให้ได้ระบบและเป็นคำตอบที่จะตอบสนองผู้ใช้ในระดับต่าง ๆ ได้
4. ข้อมูลอะไรที่หน่วยงานหรือส่วนต่าง ๆ ขององค์การต้องการโดยดูจากคำถามที่หน่วยงานต่าง ๆ ถามมา
5. ข้อมูลมีความถี่ของการใช้และมีปริมาณเท่าไร ควรมีการตรวจสอบ
6. รูปแบบของการประมวลผล ควรมีการประมวลผลอะไร ให้ได้ผลลัพธ์อย่างไร
7. ใครรับผิดของข้อมูล ข้อมูลบางตัวจำเป็นต้องมีผู้ดูแล
ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/287870

10. จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ >> ประโยชน์ของเทคโนโลยีทั่วไป
1.ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน
2.เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
3.เป็นแหล่งความบันเทิง
4.ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmade คืองานชิ้นเดียวในโลก
5.ลดต้นทุนการผลิต
6.ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
7.ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ
8.ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
9.ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
10.ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
11.ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ
โทษของเทคโนโลยีทั่วไป
1.สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
2.เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
3.ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
4.ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
5.ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
6.หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก
ที่มา http://bumby-wilaiwan.blogspot.com/2011/12/blog-post_11.html



คำถามท้ายบทที่ 3
1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ >> คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" 
    ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
    จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
   1.งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
   2.งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
   3.งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
   4.งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
   5.งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
   6.การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAIหรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
ที่มา http://www.jinan.co.th/computer.html      

 2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ >> จุดเริ่มต้นในการคิดค้นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเกิดจากความต้องการในการนับ และคิดคำนวณของมนุษย์โดยในยุคแรกคือช่วงคริสต์ศักราช 1200 การคิดคำนวณยังไม่ซับซ้อน ในประเทศจีนมีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการนับที่เรียกว่าลูกคิด (abacus) ต่อมาเมื่อมนุษย์ต้องการการคิดคำนวณที่ซับซ้อน และต้องอาศัยเครื่องมือช่วยงานที่มีความสมารถหลากหลาย จึงได้มีการพัฒนาเครื่องช่วยคำนวณที่ซับซ้อนแล้วก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในยุคปัจจุบันเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณงานและประยุกต์ใช้งานได้หลายประเภท เช่น การสื่อสาร การประมวลผลข้อมูลหรือแม้แต่ให้ความบันเทิง นอกจากนั้นรูปลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ยังพัฒนาจนมีขนาดเล็กง่ายต่อการพกพา
   การพัฒนาเครื่องคำนวณเป็นไปอย่างต่อเนื่องและน่าสนใจ เราสามารถแบ่งลักษณะของเครื่องคำนวณที่สร้างสร้างขึ้นได้เป็น 2ช่วง คือ ช่วงแรกที่เครื่องคำนวณมีการทำงานเป็นกลไกแบบเครื่องจักรกลและค่อยๆ พัฒนาถึงปัจจุบันคือช่วงที่เครื่องคำนวณหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มีการทำงานโดยใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในช่วงแรกที่มีการพัฒนาเครื่องคำนวณที่ทำงานแบบเครื่องจักรกล เครื่องคำนวณที่มีชื่อเสียงใช้คำนวณการบวกลบเลขที่แท้จริง ชื่อว่า เครื่องคำนวณปาสคาล (Pascal calculator) ทีประดิษฐ์ขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) และต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ กอดฟริด ฟอน ไลบ์นิช (Gottfried Von Leibnitz) ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีความสามารถในการคูณ หาร และหารากที่สองได้ ชื่อว่าเครื่องคำนวณสเต็ป เรคคอนเนอร์ (Stepped Reckconer)
     เมื่อความรู้ด้านคณิตศาสตร์พัฒนาต่อไป นักคณิตศาสตร์ต้องการเครื่องมือที่มีความสามารถมากขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณ ในปี พ.ศ.2343นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่าชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเครื่องคำนวณที่เรียกว่าดิฟเฟอร์เรนซ์เอนจิน (difference engine) ที่สามารถคำนวณตัวเลขของตารางคณิตศาสตร์ เช่น ตรีโกณมิติและลอการิทึมได้และต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องคำนวณที่มีหลักการทำงานใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยนำบัตรเจาะรูเข้ามาช่วยในการทำงาน ตั้งแต่ควบคุมกระบวนการทำงาน
   จนกระทั่งใช้เป็นหน่วยความจำ และมีวงล้อหมุนเรียกว่ามิล (mill) เป็นหน่วยคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ เครื่องคำนวณแบบนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกและมีชื่อว่าแอนาไลติคอลเอนจิน (analytical engine) จากนั้นมา การพัฒนาเครื่องคำนวณยังคงมีต่อมาเรื่อยๆ จนมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน โดยเริ่มต้นใช้หลอดสูญญากาศเป็นองค์ประกอบของวงจรไฟฟ้า และจุดนี้เองนับเป็นจุดเริ่มต้นในการนับแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ล้วนๆ 
ที่มา http://www.com5dow.com

3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ >> ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
     1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
     2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
     3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
     4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
ที่มา http://www.com5dow.com

4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบทีสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แต่อะไร
ตอบ >> ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2.ซอฟต์แวร์ (Software)
3.บุคลากร (Peopleware)
ที่มา http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm
 ส่วนประกอบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
     จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงผลออกมาเป็นภาพทางหน้าจอ
     เคส เป็นโครงที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์ภายในต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน อุปกรณ์ที่มักจะใส่ไว้ในเคสก็เป็นพวก เมนบอร์ด(Mainboard) แรม(RAM) การ์ดจอ(VGA Card) ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Drive) 
     พาวเวอร์ซัพพลาย ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเลือกใช้งานได้ตามจำนวนวัตต์ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อเยอะก็ควรจะเลือกใช้ที่วัตต์สูงๆ ไม่เช่นนั้นกำลังไฟอาจจะไม่พอทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ โดยจะทำการแปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์ , 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ แล้วแต่ว่าอุปกรณ์ชนิดใดต้องการกระแสไฟฟ้าเท่าใด โดยจะแบ่งได้เป็นสองแบบคือ AT และ ATX
     แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ โดยจะประกอปไปด้วยแป้นพิมพ์ที่มีปุ่มต่างๆมากมาย ทั้งปุ่มตัวอักษร(Typewriter keys) ตัวเลข(Numeric keypad) ปุ่มพิเศษ (Special-purpose keys) ปุ่มควบคุมอื่นๆ(Control keys) หรือปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ(Function keys) สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้การพิมพ์เป็นหลัก แป้นพิมพ์ถือเป็นอุปกรณ์หลักในการติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว ในยุคแรกนั้นจะใช้ในการพิมพ์ชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน รวมถึงเป็นตัวป้อนข้อมูลต่างๆจากผู้ใช้ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย
    เมาส์ เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมตัวชี้(Pointer) บนจอคอมพิวเตอร์ นับเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์ในยุดปัจจุบัน โดยการทำงานของเมาส์นั้นภายในจะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง หรือเมาส์รุ่นใหม่ที่เป็นแบบออพตีคอล(Optical) นั้นจะใช้เป็นแสงจากแอลอีดี(LED)และจับการเคลื่อนไหวโดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของแสงที่สะท้อนกลับมา จากนั้นเมาส์จะส่งสัญญานไปยังตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์เพื่อให้ตัวชี้ขยับตามการเคลื่อนไหวของเมาส์
ที่มา http://xn--12ccecld3hpbh9a6asi8c7dfcce1c3fzmijta.com/

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ >> ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
1.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
      หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว
2.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
       หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
3.หน่วยแสดงผล (Output Unit)
       หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น
4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
      หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น
5.หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)

      หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/22/cit/2_1.html

6 .ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ >> หน่วยความจำ (Memory Unit)
         หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/22/cit/2_1.html

7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม (ROM)ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ >> = ROM =
   ใช้เก็บข้อมูลซึ่งมักเป็นโปรแกรม จะเก็บแบบถาวร คือข้อมูลยังอยู่โดยไม่ต้องมีไฟเลี้ยง มักเขียนครั้งเดียวเพื่อไว้อ่านครั้งต่อๆ ไปโดยจะเขียนทับซ้ำไม่ได้ในการทำงานปกติ ยกเว้นสั่งเขียนผ่านอุปกรณ์เขียน เมื่อจะแก้หรือเปลี่ยนข้อมูลใหม่
   มักจะใช้เพื่อเก็บโปรแกรมเริ่มต้นระบบ เมื่อเปิดสวิตซ์เครื่อง เช่น BIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรวมถึงใช้เก็บโปรแกรมทำงานทั้งหมด ในอุปกรณ์ที่ต้องการเก็บโปรแกรมทำงานไว้ในเครื่องแบบถาวร เช่น เครื่องคิดเลข
   ROM * คุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย
    = RAM =
   เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลขณะทำงาน ปิดสวิตซ์ข้อมูลก็หาย ใช้เป็นหน่วยความจำขณะในทำงาน สามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลใน RAM ได้โดยไม่ต้องอ่านตามลำดับเหมือนเทป หรือ CD มีประโยชน์เหมือนกระดาษทดของเครื่อง แต่สามารถโหลดโปรแกรมเข้าไปไว้ใน RAM เพื่อเรียกใช้งานได้ เช่นโปรแกรมในส่วนที่ ROM ไม่มี เพื่อให้การทำงานของเครื่องเร็วขึ้น
     RAM * คุณสมบัติ เก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีไฟเลี้ยง ความเร็วสูง สามารถมีขนาดใหญ่ๆ ได้ เพื่อใช้กับงานที่มีข้อมูลมากๆ
     ROM และ RAM โดยวัตถุประสงค์ และทั่วไปจะเป็นองค็ประกอบเพื่อจะถูกใช้งานโดยหน่วยประมวลผล (Processing Unit) จะรวมกันทำงานเป็นคอมพิวเตอร์ ทั้งขนาดจิ๋ว ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัด เครื่องคิดเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์
ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=01b0ce2eb860cd25

8.จานบันทึกข้อมูล (Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ >> ฮาร์ดดิสก์ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของ บริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็น ของตนเอง
      หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
ภายในฮาร์ดิสก์หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
      สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
      สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
      ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
      เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 GB ถึง 4 TB ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=089a7c769e7b64ef

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์ (Megabyte ) กิกะไบต์(Gigabit)พิกเซล(Pixel)จิกะเฮิร์ซ(GHz)
ตอบ >> เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอในการใช้อุปสรรคฐานสองในการนิยามและการใช้งาน ฉะนั้น ค่าแม่นตรงของกิโลไบต์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งจากค่าดังต่อไปนี้
      1,000,000 ไบต์ (10002, 106) : นิยามนี้นิยมใช้ใช้ในบริบทของระบบข่ายงานและการระบุความจุของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี นิยามนี้สอดคล้องกับการใช้อุปสรรค (คำนำหน้าหน่วย) ในหน่วยเอสไอ ตลอดจนการใช้อุปสรรคในวงการคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป
      1,024,000 ไบต์ (1,024×1,000) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยเก็บบางชนิด ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ แผ่นฟลอปปีดิสก์ชนิดความหนาแน่นสูง ความจุ "1.44 MB" (1,474,560 ไบต์) ขนาด "3.5 นิ้ว" (อันที่จริงคือ 90 mm)
      1,048,576 ไบต์ (10242, 220) : นิยามนี้ใช้ในการระบุความจุของหน่วยความจำแทบทุกชนิดในคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ การผลิตหน่วยความจำหลักนั้นจะเพิ่มความจุเป็นสองเท่าได้ง่ายที่สุด) และแผ่นซีดี ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ใช้นิยามนี้ในการแสดงความจุของหน่วยเก็บ ปริมาณตามนิยามนี้มีค่าเท่ากับหนึ่งเมบิไบต์
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

      กิกะไบต์ ความจริงแล้วคำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า "gigabyte" อ่านว่า "กิกะไบต์" ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ) คำว่า "giga" มีค่าเท่ากับ "พันล้าน"
          ส่วนคำว่า "ไบต์" เป็นหน่วยความจำของตัวเลขฐานสองเท่ากับ 8 บิต โดยที่บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล โดยข้อมูลหนึ่งบิตมีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) และ 1 (เปิด) โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit)
          ดังนั้นเพื่อไม่ให้ยุ่งยากหรือเป็นศัพท์เทคนิคมากไป ก็คงพอจะสรุปได้ว่า "กิกะไบต์" ใช้เป็นหน่วยความจำของข้อมูลดิจิตอล เรียกกันย่อๆ โดยทั่วไปว่า "กิ๊ก" อาจจะเทียบความจุเป็นเพลงก็ได้ราว 200 กว่าเพลง ถ้าเป็น 2 กิ๊ก(ไม่ใช่มีกิ๊กสองคน) ก็จะจุได้ประมาณ 500 เพลง
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/22021

        พิกเซล หรือ จุดภาพ(อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้ จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล
        คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

       จิกะเฮิร์ซ เฮิรตซ์ (อังกฤษ: hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ : ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที
      หน่วยความถี่อื่นๆ ได้แก่ เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และ รอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)
      hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า
      หน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอม
ตอบ >> จอภาพ ใช้แสดงข้อมูลในรูปแบบตามที่เห็นผ่านทางข้อความและกราฟิก ส่วนของจอภาพที่แสดงผลข้อมูลเรียกว่า หน้าจอ หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนกับหน้าจอโทรทัศน์
      จอภาพชนิดพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) และจอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display) ทั้งสองชนิดให้ภาพคมชัด แต่จอภาพแบบ LCD ได้เปรียบตรงที่บางและน้ำหนักเบากว่ามาก อย่างไรก็ตามจอภาพแบบ CRT หาซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่า


       แป้นพิมพ์ เป็นส่วนสำคัญสำหรับใช้พิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ แป้นพิมพ์ประกอบด้วยแป้นตัวอักษรและตัวเลขเหมือนกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีปุ่มพิมพ์พิเศษเพิ่ม ได้แก่
-แป้นฟังก์ชัน ที่อยู่แถวบนสุด ทำหน้าที่ต่างๆ กันขึ้นกับว่าใช้แป้นฟังก์ชันนั้นที่ไหน
-แป้นพิมพ์ตัวเลข ที่อยู่ทางด้านขวาของแป้นพิมพ์ทั้งหมด ช่วยให้คุณใส่ตัวเลขได้อย่างรวดเร็ว
-แป้นนำทาง เช่นแป้นพิมพ์ลูกศรต่างๆ ช่วยคุณย้ายตำแหน่งภายในเอกสารหรือเว็บเพจ


       เมาส์ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับชี้และเลือกรายการบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าเมาส์ผลิตออกมาหลายรูปร่าง แต่โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับหนูที่เป็นสัตว์จริง เมาส์มีขนาดเล็ก เป็นรูปรี และเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบด้วยสายยาวซึ่งดูคล้ายกับหางหนู เมาส์ออกใหม่บางตัวเป็นแบบไร้สาย
ที่มา http://windows.microsoft.com/th-th/windows-vista/parts-of-a-computer

คำถามท้ายบทที่ 4
1.ซอฟต์แวร์คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ >> Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
      หน้าที่ของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงทำหน้าที่ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้  การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2d4408220ac89de6
ที่มา http://www.com5dow.com/

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ >> 2 ประเภท
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

3.ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
ตอบ >> คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ >> เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น

5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ >> ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน  เป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใด

อย่างหนึ่ง และไม่สามารถ ทำงานอื่นได้  เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมเพื่องานออก
แบบ โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
     1.โปรแกรมระบบบัญชี (Accounting) เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน ลูกหนี้ ระบบเช่าซื้อ
บัญชี แยกประเภท
     2.โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม CAM (Computer-Aided Manufactory
and Composition And Make-up) ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ใช้สำหรับงานด้านอุตสาหกรรม
เป็นส่วนใหญ่ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ดูแลและควบคุมเครื่องจักรกลแทนคน หรืองานประเภท
ที่ต้องทำซ้ำๆ กัน ครั้งละมากๆ (Mass-production)
     3.โปรแกรมช่วยในการเรียนการสอน CAI (Computer-Assisted Instruction)
โดยการใช้คอมพิวเตอร์ หรือจำลองตัวเองเป็นสื่อในการเรียนการสอนประกอบกับรูปภาพ
(เคลื่อนไหว) ในลักษณะต่างๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ
     4.เกมส์ (Game) สำหรับผ่อนคลายหลังจากการใช้เครื่องแต่ส่วนใหญ่นิยมเล่นเพื่อความ
เพลิดเพลินกว่า  ตัวอย่างของเกมส์เหล่านี้ได้แก่ โปรแกรมเกมส์ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า
(Arcade game) เกมส์บนกระดาน (Board game) เช่น หมากรุก โมโนโปลีฯลฯ เกมส์ไพ่
(Card) เกมส์เสมือนหรือจำลอง
     5.โปรแกรมเพื่องานออกแบบหรือ CAD (Computer-Aidea Design) เช่น AutoCad
AutoLISP และ  DisgnCAD เป็นต้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้สำหรับการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ และงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม
     6.โปรแกรมตรวจสอบ/ป้องกันไวรัส (Anti-Virus) มีไว้เพื่อป้องกันการโจมตีของไวรัส
คอมพิวเตอร์ และมักจะมีคำสั่งให้ทำลายล้างไวรัสออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น McAfee
virus scan, AVI-scan, Norton Anti-virus เป็นต้น
     7.โปรแกรมมัลติมีเดีย (Multimedia) เป็นซอฟต์แวร์ใช้สำหรับสร้างโปรแกรม CAI
หรือทำ Presentation หรือใช้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง  เช่น  Multimedia Toolbook, Xing
MPEG, Authorware, PowerDVDชนิดอื่นๆ เช่น ระบบธุรกิจต่างๆ งานทำดนตรีงานตัดต่อ
ภาพยนตร์ การวางแผนงาน งานศิลปะ  งานวาดรูป การประมาณการ วิเคราะห์  งานพัฒนา การบริหารโครงงาน

ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/283614

6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ >> การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้อย่างหลากหลาย เพราะมีซอฟต์แวร์ต่างๆ ช่วยสนับสนุนการทำงานเหล่านั้น เช่น ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วเครื่องบินใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว ธนาคารใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ครูและนักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดพิมพ์เอกสาร ดังนั้นซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้  
      การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการได้อย่างไรและก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใดนั้นจึงขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ  
ที่มา http://www.chakkham.ac.th/technology/solfware/page1.htm

7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ >> ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)
ภาษาคอมพิวเตอร์ คือภาษที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยถูกนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง (Program) ให้เครื่องทำงานตามคำสั่งของภาษานั้น ในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีมากมายหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์และวิธีการเขียนโปรแกรมแต่ต่างกัน
ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=463b53e99ccae607

8.ระบบปฎิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ >> ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของระบบ โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้
       ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่มีในระบบ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึง โปรแกรมภาษาเครื่อง และไมโครโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นซอฟร์แวร์ในระดับพื้นฐาน (primitive level) โดยสามารถทำงานได้โดยตรงกับทรัพยากรระบบด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น ADD MOVE หรือ JUMP คำสั่งเหล่านี้จะถูกกำหนดเป็นขั้นตอน การทำงานของวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งที่ไมโครโปรแกรมต้องแปลหรือตีความหมายจะอยู่ใน รูปแบบภาษาเครื่องและมักเป็นคำสั่งในการคำนวณ เปรียบเทียบ และการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก
       ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       โปรแกรมประยุกต์ คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมส์ต่างๆ ระบบฐานข้อมูล ตลอดจนตัวแปลภาษา เราอาจเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า User's Program โปรแกรมประเภทนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา เช่นภาษา C, C++, COBOL, PASCAL, BASIC ฯลฯ ตัวอย่างของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในทางธุรกิจ เช่น โปรแกรมระบบบัญชีจ่ายเงินเดือน (Payroll Program) โปรแกรมระบบเช่าซื้อ (Hire Purchase) โปรแกรมระบบสินค้าคงหลัง (Stock Program) ฯลฯ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้เราสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมเองได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานโปรแกรม  โปรแกรมเหล่านี้เป็นตัวกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรระบบ เพื่อทำงานต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล โปรแกรม หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นตัวแปรภาษาต้องใช้ทรัพยากรระบบในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องแก่โปรแกรมเมอร์ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการต้องควบคุมและประสานงานในการใช้ทรัพยากรระบบของผู้ใช้ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
       ผู้ใช้ ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น
ที่มา http://home.kku.ac.th/regis/student/snakiiz/New%20Folder/11.html

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5
1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ  แล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat) การประชุมทางไกล (Teleconference) และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference) มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้ ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
ที่มา http://saithammachannetwork.blogspot.com/

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ >> ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
       การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  
       การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
      สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น
      สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (Business Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น        ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
      ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
ที่มา http://blog.eduzones.com/banny/3478

3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกัน ในองค์กรเดียวกันโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภาย อาคารเดียวกัน  ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น

4.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง
ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=700b2267ce444394

5.ระบบเครือข่ายร่วมปฎิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่
กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการ
จัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมู
     ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการ
เรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่อง
ไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ที่มา http://www.v-bac.ac.th/Section/S_IT/Computer%20Network/unit4.html

6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ >> เครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 6 ประเภท
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน (Local  area  network  :  LAN
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน (Metropolition  area  network  :  MAN)
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน (Wide  area  network  :  WAN)
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต (Intranet)
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2a42a03fb117776f

7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ >> แบบดาว (Star Network)
      เป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็ว เมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูง ในการติดตั้งครั้งแรก

      แบบวงแหวน (Ring Network)
      ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่ อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูล ออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้

       แบบบัส (Bus Network)
       เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้งระบบ ซึ่ง Terminaltor จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนกับระบบสัญญาณอื่นในสาย ซึ่งโดยทั่วไป จะมีค่าความต้านทานประมาณ 50 โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี Terminator เราสามารถให้ตัว R ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด 50 โอห์มแทนได้เหมือนกัน



       แบบผสม (Hybrid Network)
       เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้
ที่มา http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network01.html

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

1.อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
      อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page21.htm

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ >> อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
     1.การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใปใช้ทางการศึกษาได้
     2.ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้
     3.การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
     4.ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย(Multimedia)ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
     5.การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
     6.การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
     7.การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้
อินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
ที่มา http://katty2131.blogspot.com/


3. จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ >>1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
     2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
     3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
     4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
     5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกมส์ เป็นต้น
     6.ใช้สื่อสารข้อความ ซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการพินข้อความโต้ตอบ
     7. ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
     8.ซื้อขายสินค้าและบริการ

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อก และแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัลเพื่อให้ข้อมูลส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ โมเด็มมีหลายประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้งานดังนี้
      1.1) โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์ (dial-up modem) เป็นโมเด็มที่ใช้ต่อเข้ากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์ การเชื่อมต่อใช้วิธีการหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลต่ำประมาณ 56 kbps ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์
      1.2) ดิจิทัลโมเด็ม (digital modem) เป็นโมเด็มที่ใช้รับและส่งข้อมูลผ่านสายเชื่อมสัญญาณแบบดิจิทัล การเชื่อมต่อโมเด็มแบบนี้ใช้ไม่จำเป็นต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่ผู้ให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต โดยโมเด็มจะทำการเชื่อมต่อให้อัตโนมัติเมื่อการใช้งาน สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงตั้งแต่ 128 kbps ขึ้นไป โดยทั่วไปจะเป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอก (external modem) โมเด็มแบบนี้ เช่น
- ดิเอสแอล (Digital Subscriber Line: DSL) เป็นโมเด็มที่ได้รับความนิยมในการใช้งานในบ้าน และสำนักขนาดเล็ก โดยสามารถรับและส่งข้อมูลดิจิทัลด้วยความเร็วสูงกว่าการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์ ตัวอย่างการติดตั้งอีเอสแอลโมเด็ม ดังรูปที่ 4.37
- เคเบิลโมเด็ม (cable modem) เป็นโมเด็มทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายเคเบิลทีวี บางครั้งเรียกว่ารอดแบนด์โมเด็ม (broadband modem) สามารถรับและส่งข้อมูลได้สูงเหมือนกับดีเอสแอลโมเด็ม
ที่มา https://sites.google.com/site/kruyutsbw/4-6-xupkrn-kar-suxsar

5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ >> เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายสากล ที่เกิดจากการรวมระบบเครือข่ายขนาดเล็กให้สื่อสาร และ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ โดยเป็นเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งเปิดกว้างสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย ผสานระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกันคะ
      การที่คนเรานำอินเตอร์เน็ดมาใช้นั้นก็เพื่อจะหาความรู้เเต่คนเรานำมาใช้ในทางที่ผิดในอินเตอร์เน็ดมีความรู้มากจนที่ว่าเราไม่สามารถที่จะค้นและดูได้ทุกอันและไม่สามารถนำมาเบในสมองของเราได้หมด
ที่มา http://benya-ben-zttps.blogspot.com/2011/06/1.html


6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ >> -ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
-ง่ายต่อการบริหารจัดการขององค์การ
-สะดวกในการนำข้อมูลมาใช้
-ประชาสัมพันธ์องค์การให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ
-ประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์การ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7
1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ >> การแบ่งประเภทเครือข่ายจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) 

          อินเทอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค    นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า 
         อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
        เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)  คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 72 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้

2.อิทราเน็ต(Intranet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี(TCP/IP) ซึ่งเป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น โปรแกรมเพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตจึงเป็นซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
ที่มา http://tuinuii.wordpress.com/

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ >> โดยทั่วไป Search Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ
        1.การค้นแบบนามานุกรม  (Directory)  หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง  ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด  ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ   ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว  เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com ,www.lycos.com,www.sanook.com, www.siamguru.com  เป็นต้น
       2.การค้นหาแบบดรรชนี (Index)  หรือคำสำคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ  ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator)  เป็นต้น  โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร


4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ >> การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง 2-3คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพ็จที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไปดังนั้น ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง

5. Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ >> ห้องสมุดจิติล (Digital library) ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library) แต่มีความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ ห้องสมุดแบบดั้งเดิม   ซึ่งข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่ ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์  ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการ
ระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง
ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objectsคือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Dataนั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties.

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ >> Telegraph เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์สัญชาติอังกฤษที่มีอิทธิพลในวงการศึกษาทั่วโลก อันเนื่องจากมีการนำเสนอเนื้อหาข่าวที่กระชับ รวดเร็ว รูปภาพที่สีสันสวยงามของตากล้องมืออาชีพ และมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและอันดับทางการศึกษา คนดังกับการศึกษา และหลักสูตรทางการศึกษาเด่นๆ อยู่เป็นประจำ ติดตามได้ที่นี่ค่ะ www.telegraph.co.uk
เว็บไซต์สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมทางการศึกษาของนักเรียนทั่วโลกค่ะรวมถึงในประเทศไทยด้วย ซึ่งมีเนื้อหาที่หลากหลายของข่าว ทั้งเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง ประกอบกับไฟล์วีดีโอข่าว รวมถึงเอกลักษณ์ที่น่าสนใจในการเป็นเว็บไซต์สอนภาษาอังกฤษที่สำคัญของนักเรียนทั่วโลก จากแบบฝึกหัด มุมบทความ และสามารถดาวน์โหลดไปฝึกกันได้ฟรีๆเลยทีเดียว ที่นี่ค่ะ www.bbc.co.u

                                คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  8
1.ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ >>
- เพื่อนให้ผู้เรียน ผู้ศึกษาเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนง่ายขึ้น
- เพื่อให้ผู้เรียน ผู้ที่ศึกษามีแรงจูงใจ มีความสนใจที่จะเรียนรู้งานชิ้นนี้


1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ >> 
- ทำให้เกิดการดึงดูดคส่มสนใจของผู้เรียน ผู้ที่ศึกษา
- สร้างผลงานให้มีความชัดเจนมากที่สุด
- ทำผลงานให้ได้ตามจุดประสงค์ของผู้ศึกษา

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ >> การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดีรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
         การพากษ์   เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม 
ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี 
หรือเสียงประกอบ


1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ >> 
- คอมพิวเตอร์
- เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

- เครื่องขยายเสียง